เมนู

9. อุปาทาธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็น
ปัจจัยแก่อุปาทาธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ และรวมกับ
อินทริยะ
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ที่เกิดภายหลัง และกวฬีการาหาร
เป็นปัจจัยแก่กาย ที่เป็นอุปาทาธรรม และไม่ใช่อุปาทาธรรมนี้ ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อินทริยะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม และรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่
กฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอุปาทาธรรม และไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย.

การนับจำนวนวาระในอนุโลม


[335] ในเหตุปัจจัย มี 3 วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี 2 วาระ
ในอธิปติปัจจัย มี 4 วาระ ในอนันตรปัจจัย มี 1 วาระ ในสมนันตรปัจจัย
มี 1 วาระ ในสหชาตปัจจัย มี 5 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 5 วาระ ใน
นิสสยปัจจัย มี 5 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 2 วาระ ในปุเรชาตปัจจัย
มี 3 วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี 3 วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี 1 วาระ

ในกัมมปัจจัย มี 3 วาระ ในวิปากปัจจัย มี 3 วาระ ในอาหารปัจจัย มี 6 วาระ
ในอินทริยปัจจัย มี 7 วาระ ในฌานปัจจัย มี 3 วาระ ในมัคคปัจจัย มี 3 วาระ
ในสัมปยุตตปัจจัย มี 1 วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี 4 วาระ ในอัตถิปัจจัย
มี 9 วาระ ในนัตถิปัจจัย มี 1 วาระ ในวิคตปัจจัย มี 1 วาระ ในอวิคตปัจจัย
มี 9 วาระ.

ปัจจนียนัย


การยกปัจจัยในปัจจนียะ


[336] 1. อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทาธรรม ด้วย
อำนาจของอาหารปัจจัย
, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.
2. อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยและธรรมที่ไม่ใช่อุปาทา-
ธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของ
สหชาตปัจจัย
, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย, เป็นปัจจัย
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย,
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.
3. อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทาธรรม และ
ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย
, เป็นปัจจัย
ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.
4. ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
, เป็นปัจจัย ด้วย